ปตท.ทนไม่ไหวแล้ว!6ปีสนองรัฐ2แสนล้าน:

"ประเสริฐ"ลั่นต้องมีลิมิต:กัดฟันนำเข้า LPG8 หมื่นตัน
ปตท. ชักเหลืออดแบกรับภาระด้านพลังงาน เพื่อสนองรัฐมากเกินเหตุ 6 ปี อุ้มก๊าซ-น้ำมันไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาทแค่แอลพีจีอย่างเดียวปาเข้าไปกว่าแสนล้านบาท "ประเสริฐ"ลั่นมันต้องมีลิมิต ไม่สมควรต้องอุ้มกะเตงกันตลอด ล่าสุดต้องกัดฟันเพิ่มปริมาณนำเข้าแอลพีจีอีก 8 หมื่นต้น ส่งผลต้องเข้าเนื้อปตท.เพิ่มอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)หรือPTT เปิดเผยว่า ปัจจุบันปตท.ต้องเข้าไปแบกรับภาระด้านพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี)หากนับตั้งแต่ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อพ.ศ.2544 คิดมูลค่ารวมประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นแบกรับชดเชยแอลพีจีกว่า1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้กระทรวง พลังงานให้ปตท.นำเข้าแอลพีจี โดยเดือนก.ค.นี้ เพิ่มปริมาณการนำเข้าเป็น 8 หมื่นตัน จากเดิมที่คาดว่าปริมาณความต้องการใช้อยู่ที่ 2 หมื่นตันต่อเดือนและคาดว่าเดือนถัดไปจะนำเข้าแอลพีจี เฉลี่ยอยู่ที่ 4 หมื่นตันต่อเดือน อย่างไรก็ดีปริมาณการนำเข้านั้นไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้ด้วยหากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นก็มี แผนนำเข้าเพิ่มขึ้นด้วย
"สาเหตุที่เรานำเข้าแอลพีจีเดือนนี้ถึง 8หมื่นตันเพราะเดือนที่แล้วแอลพีจีขาดตลาดเราก็จะเอามาสำรองไว้เพื่อให้ ประชาชนแน่ใจว่าแอลพีจีจะไม่ขาดอีกส่วนเดือนถัดไปคาดว่าจะนำเข้า 4 หมื่นตันต่อเดือนและหากสถานการณ์การใช้แอลพีจี ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องขณะที่ราคาขายในประเทศยังถูกกว่าตลาดโลกถึง 600-700 เหรียญสหรัฐต่อตัน เชื่อว่าปีหน้าต้องนำเข้าถึง 1 ล้านตัน ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระปีนี้และปีหน้า 1-2 หมื่นล้านบาท
อย่างไร ก็ตามเชื่อว่าเงินส่วนนี้ เราจะได้คืนจากภาครัฐ เพราะกำลังจะมีการปรับโครงสร้างราคาส่วนจะปรับแอลพีจีอย่างไรนั้นขึ้นอยู่ กับการตัดสินใจของกระทรวงพลังงาน"นายประเสริฐ กล่าว
สำหรับปริมาณ การผลิตแอลพีจีในประเทศ ปัจจุบันอยู่ที่ 3 ล้านตันต่อปี โดยโรงกลั่นกลุ่มปตท.ต้องแบกรับต้นทุนสูง โดยปตท.ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ ราคา 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแต่เมื่อผลิตแอลพีจีขายราคา 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลหรือประมาณ 300 บาทต่อตัน ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระดังกล่าว มากถึง 5 หมื่นล้านบาทต่อปี เงินส่วนนี้จะไม่ได้รับคืนจากทางภาครัฐ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าปตท.จะ มีศักยภาพมากพอ ที่จะเข้าแบกรับภาระต่างๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนได้เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจก็ตาม แต่การที่จะให้ปตท.แบกรับภาระเพียงผู้เดียวทุกเรื่องนั้น มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ดังนั้นคงไม่มีใครสามารถแบกรับภาระได้ตลอดโดยดูจากหลายประเทศพยายามเข้าไป แทรกแซงราคาเชื้อเพลิง สุดท้ายก็ทนไม่ไหวต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
"การลอยตัวแอลพีจีนั้นควรแบ่งเป็น 2 ราคา ขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปจากแผนเดิมที่ใช้ราคาเดียว จะกระทบต่อภาคครัวเรือน ปตท.ยังสนับสนุนลอยตัวแอลพีจี เพราะหากปล่อยเช่นนี้จะเป็นภาระของประเทศ โดยมองว่าการปรับราคาแอลพีจีอย่างน้อยต้องปรับให้มีเงินพอดีเพื่อชดเชยที่นำ เข้ามา วันนี้เราต้องนำเข้ามาเพิ่มเติม เพราะราคาในประเทศยังถูกกว่าตลาดโลกมาก แม้ว่าราคาจะขยับขึ้นมาเป็น 20 บาทต่อลิตร ก็ยังถูกกว่าดีเซล 40 บาทต่อลิตรอยู่ดีนอกจากนี้ยังมีการลักลอบอีก"นายประเสริฐ กล่าว
ทั้ง นี้หลายฝ่ายอาจสงสัยว่าการที่ปตท.ขายเชื้อเพลิงในราคาถูกกว่าตลาดนั้น มีผลกระทบต่อศักยภาพด้านการแข่งขันหรือไม่นั้น ปัจจุบันกฎหมายผูกขาดตลาดยกเว้นปตท.ทำให้ปตท.แบกรับภาระดังกล่าวได้ แต่หากกฎหมายดังกล่าว ไม่ยกเว้นปตท.การกระทำดังกล่าวจะเข้าข่ายผิดกฎฑหมาย กลั่นแกล้งผู้ประกอบการรายอื่น อย่างไรก็ตามแม้ว่าปตท.ต้องแบกรับชดเชยมากมาย แต่มีวิธีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
นาย ประเสริฐ กล่าวถึงราคาน้ำมันที่ลดลงประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลช่วง 2 วันที่ผ่านมาว่า ถือเป็นข่าวดีที่เข้าสู่ช่วงราคาน้ำมันลดลง หลังไต่ระดับสูงขึ้นมานาน เนื่องจากข่าวปัญหานิวเคลียร์อิหร่านที่คลี่คลายลง ขณะที่พายุเฮอริเคนสหรัฐฯ ไม่กระทบต่อการผลิตอ่าวเม็กซิโก ทำให้กองทุนเก็งกำไร ทยอยขายน้ำมันออกมา ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศทยอยลดลง
โดยวา นี้ผู้ค้าน้ำมันลดดีเซลเท่ากับปตท.และปตท.และผู้ค้ารายอื่นได้ลดราคาเบนซิน มีผลวันนี้ อีก 60 สตางค์ต่อลิตร หากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง จนค่าตลาดดีเซลอยู่ระดับที่เหมาะสม ปตท.จะลดราคาต่อไป ที่ผ่านมาราคาน้ำมันที่ผ่านมาสูงกว่า 145ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่หากดูจากความต้องการและกำลังการผลิต ราคาน้ำมันน่าจะอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนปัญหาการเมืองขณะนี้ว่า ไม่มีผลต่อการลงทุนของปตท. ยังเดินหน้าตามแผนลงทุนในเครือปตท.5 ปี มูลค่า 8-9 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ท่อก๊าซธรรมชาติ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้พลังงาน ภายในประเทศเพียงพอ และส่งเสริมพลังงานทางเลือก ทั้งนี้การลงทุนของปตท.ก็ดูระยะ 30 ปีข้างหน้าที่เชื่อว่าระยะกลางและยาวเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดี เพียงแต่ขณะนี้มีความผันผวนทางการเมือง ที่เป็นปัญหาระยะสั้นเท่านั้น
ขณะ ที่คุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต กรรมการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่แพง รัฐบาลไม่ควรสนับสนุนให้ประชาชนใช้ราคาน้ำมันถูก เพราะข้อเท็จจริงในตลาดโลก ราคาน้ำมันจะอยู่ระดับสูงต่อไป หากดูภายใน 5 ปี ตั้งแต่ 2552-2556ความต้องการน้ำมันใหม่สูงกว่ากำลังการผลิตใหม่ โดยคาดว่าภายใน 5 ปี ความต้องการใช้น้ำมันจะถึง 13.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่กำลังการผลิตใหม่ อยู่ที่ 11 ล้านบาร์เรลมาจากกลุ่มโอเปก 6 ล้านบาร์เรล หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.2 บาร์เรลต่อวันในแต่ละปี ขณะที่มาจากนอกกลุ่มโอเปก 5 ล้านบาร์เรล
โดยภาวะเช่นนี้ การหาพลังงานทางเลือกแม้เป็นเรื่องที่ทุกประเทศใช้เป็นทางออกแต่การพัฒนา พลังงานทางเลือกก็ยังไม่พอต่อการใช้ ทำให้ราคาน้ำมันทรงตัวระดับสูง โดยในประเทศความจำเป็นต้องใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ต้องมีต่อไปโดยเฉพาะนิวเคลียร์ ทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานต่ำจึงต้องส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาเพื่อให้ยอมรับนิวเคลียร์ในอนาคต
พล. ท.(หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าปริมาณการใช้น้ำมัน 6 เดือนแรกปี 2551(มกราคม-มิถุนายน) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินลดต่ำลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากวันละ 20.2 ล้านลิตร มาอยู่ที่ 19.2 ล้านลิตร ลดลง 4.7% ทั้งนี้เป็นการลดลงทั้งจากเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ขณะที่ในส่วนการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับลดลงเช่นกันจากปกติวันละ 52.8 ล้านลิตร มาอยู่ที่ 51.5 ล้านลิตร ลดลง 2.5%
นอกจากนี้หากดูเฉพาะ เดือนมิถุนายน 2551 เดือนเดียว ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลปรับลดลง เหลือเพียงวันละ 45.2 ล้านลิตร ขณะที่น้ำมันเบนซิน เหลือเพียงวันละ 17.8ล้านลิตรเท่านั้น
โดยเหตุผลของการใช้น้ำมันที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้นมาก ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากต้นปี 2551 จำนวน 11 บาทต่อลิตรและราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้นถึง 15 บาทต่อลิตร ทำให้พฤติกรรมการใช้พลังงานของประชาชนเปลี่ยนแปลง ลดการใช้รถส่วนบุคคล และส่วนหนึ่งเปลี่ยนมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น ประกอบกับการที่กระทรวงพลังงาน มีนโยบายประหยัดพลังงานต่อเนื่อง
พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน เปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ได้แก่แก๊สโซฮอล์ไบโอดีเซล และก๊าซ NGV โดยเฉพาะสร้างแรงจูงใจ โดยกำหนดส่วนต่างด้านราคาพลังงานทดแทนให้ถูกกว่าราคาน้ำมันปกติ ประชาชนจึงเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น
สำหรับ ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน 6 เดือนแรกปี 2551 ที่ผ่านมาสูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550 การใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี5 เพิ่มขึ้น 686.6% จากวันละ 0.98 ล้านลิตร เป็นวันละ 7.74 ล้านลิตร นอกจากนี้ตัวเลขการใช้ บี5 เดือนมิถุนายน 2551 ยังสูงขึ้นเป็นวันละ 10.69 ล้านลิตรด้วย
ส่วนปริมาณการใช้น้ำมัน แก๊สโซฮอล์ เพิ่มขึ้น 100% จากวันละ 3.9 ล้านลิตร เป็นวันละ 7.8 ล้านลิตรแบ่งเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 5.88 ล้านลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 จำนวน 1.88 ล้านลิตร และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากต้นปี อยู่ที่ระดับ 81,000 ลิตรต่อวัน
นอก จากนี้อีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การใช้น้ำมันลดลง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้หันมาให้ความสนใจใช้ NGV จำนวนมาก สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 มีผู้ติดตั้ง NGV แล้วจำนวน 84,161คัน เป็นรถเบนซิน 67,833 คัน รถดีเซล 13,247 คันและรถที่ผลิตจากโรงงาน 3,081คัน มีปริมาณการใช้ NGV เพิ่มขึ้นจากต้นปี 1,100 ตัน/วัน (41.1 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)เป็น 2,013 ตันต่อวัน (72 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)
ขณะ ที่กำลังผลิตก๊าซ NGV ที่พร้อมจ่ายเข้าระบบวันนี้มีถึง 2,455 ตัน/วัน มากเกินความต้องการ 442 ตัน/วัน และมีปั๊ม NGV ที่เกิดขึ้นแล้ว 214 สถานีจากเดิมต้นปีมีเพียง166 สถานี และภายในเดือนกรกฎาคม 2551 จะมีปั๊มเพิ่มเป็น 245 สถานี และสิ้นปีเพิ่มเป็น 355 สถานี

0 Comments:

Post a Comment



 
Serenity Blogger Template