โอ้...คลิปสุดฮิต คลื่นมือถือแรงขนาดทำ "ป็อปคอร์น" ได้ไง ?!!


ข้าวโพดกลายเป็น "ป็อปคอร์น" ได้ในทันใด เพียงแค่อยู่ท่ามกลางมือถือ 3-4 เครื่อง เมื่อมือถือเหล่านี้เปล่งพลังงงานออกมาพร้อมกัน ทันใดนั้นเมล็ดข้าวโพดก็แตกกระจายดัง "ป็อป"

มือถือคั่วป็อบคอร์นได้จริงหรือ ?!?!

ก่อนจะกล่าวอะไรมากกว่านี้...ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ อยากให้คุณผู้อ่าน ลองชมคลิปจากยูทูบ (YouTube) ด้านล่างนี้เสียก่อน...

ใครที่เป็นนักท่องอินเทอร์เน็ตตัวยง คงจะผ่านหูผ่านตาคลิป การทำให้ข้าวโพดกลายเป็น "ป็อปคอร์น" ด้วยการวางเมล็ดข้าวโพด ท่ามกลางมือถือ 3-4 เครื่อง จากนั้นก็กดเรียกมือถือทุกเครื่องพร้อมๆ กัน

ทันใดนั้น เมล็ดข้าวโพดก็แตกกระจายดัง "ป็อปๆๆ"

หลังจากคลิปนี้ ได้รับการเผยแพร่ไปเพียงสัปดาห์กว่าๆ ก็มีคนคลิกเข้าไป "ทึ่ง" กว่า 4 ล้านคนแล้ว

จากนั้น ผู้จัดการวิทยาศาสตร์พบว่า มีคลิปการทดลองคล้ายๆ กันนี้อีกหลายเวอร์ชันทั้งจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น

มือถือคั่ว "ป็อปคอร์น" ได้จริงหรือ?


ความน่าอัศจรรย์ในมือถือ ที่ส่งผลให้ข้าวโพดแตกตัวจนสุกได้นี้ สร้างความฉงนให้กลับหลายคนไม่น้อย และก็มีบรรดาบล็อกเกอร์ (Blogger) ตามเว็บไซต์ต่างๆ ออกมาวิเคราะห์ และพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

นักเขียนของเว็บไซต์ไวร์ดอตคอม (Wire.com) ได้รายงานคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.หลุยส์ บลูมฟิล์ด (Louis Bloomfield) อาจารย์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (University of Virginia) สหรัฐอเมริกาว่า คลิปเหล่านั้นน่าเอ็นดู แต่ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้
แม้จะดูเป็นการเล่นกลที่แสนฉลาด แต่คลิปเหล่านี้ก็มีจุดให้จับผิดว่า สิ่งที่เขาทั้งหลายนำเสนอ ต่อผู้คนนับล้านนั้น "เป็นไปไม่ได้"
เหตุผลที่ทางศาสตราจารย์ฟิสิกส์จากเวอร์จิเนียอธิบายคือ เตาไมโครเวฟนั้นมีพลังงาน ที่จะกระตุ้นให้น้ำภายในเมล็ดข้าวโพดกลายเป็นก๊าซที่มีความดันสูง อันเป็นสาเหตุให้เมล็ดพองจนระเบิดดัง "ป็อป"
แต่หากมือถือปลดปล่อยพลังงาน ได้มากอย่างเตาไมโครเวฟแล้ว น้ำภายในมือ ของคนที่ถือโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่อมต้องร้อนขึ้นด้วย
       "มันเจ็บปวดมากเลยนะนั่น แม้เป็นไปได้ว่า มือถืออาจจะทำให้เนื้อเยื่อของคุณอุ่นขึ้น แต่การศึกษาก็บ่งชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ทำให้เจ็บปวด" ศ.บลูมฟิล์ดกล่าว
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่าการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เสียงดังขึ้นไม่ได้ช่วยให้ข้าวโพดพองได้ เพราะแต่ละเครื่องจะรบกวนการทำงานกันเอง และจะรับสัญญาณจากเสาส่งสัญญาณ ไม่ใช่ส่งผ่านสัญญาณ (ไปยังข้าวโพด) นอกจากนี้เป็นไปได้ ที่จะให้ความร้อนด้วยเสียง แต่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้กับเสียงเบาๆ จากโทรศัพท์เคลื่อนที่

"คงต้องให้นักร้องโอเปรามารวมตัวกัน และลองทำให้เมล็ดข้าวโพดแตกได้" ศ.บลูมฟิล์ดกล่าวkomgrit_su04 22-Jul-08 13.12.31

คั่วข้าวโพดด้วยมือถือที่แท้คือ....?


หลายคนเชื่อว่า คลิปดังกล่าวเป็นการโฆษณาของค่ายมือถือ เนื่องจากมีโทรศัพท์ยี่ห้อโนเกีย และโซนีอิริคสัน เรียงรายอยู่ในคลิป
กิซโมรีพับลิค (gizmorepublic) สื่อออนไลน์เฉพาะทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากแคนาดา วิเคราะห์ว่าไม่น่าใช่ เพราะข้อความที่แฝงอยู่ในคลิป น่าจะทำให้ผู้คนเห็นด้านลบของการใช้โทรศัพท์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ใช้มาอยู่รวมกันมากๆ อย่างในงานปาร์ตี้ เป็นต้น

ส่วนสน็อปส์ด็อทคอม (Snopes.com) เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมคำชี้แจงเรื่องจริง-เรื่องเท็จ และเรื่องเข้าใจผิดต่างๆ ได้ให้ข้อมูลว่า การชักชวนให้เข้าใจผิดทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว
พร้อมทั้งยกข้อมูลจากอีเมล ที่ส่งต่อกันมาจนสร้างความตื่นตระหนกถึงอันตรายของมือถือมาแล้ว นั่นคือการทดลองใช้มือถือเพียง 2 เครื่องทำให้ไข่สุก แต่เมื่อรายการโทรทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักรได้ทดลองที่จะต้มไข่ด้วยมือถือถึง 100 เครื่องกลับไม่เกิดผลใดๆ ขึ้น

เมื่อปี 2543 เว็บไซต์วิมซีวิลเลจเว็บ (Wimsey Village Web) ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการทำไข่ให้สุกด้วยมือถือ 2 เครื่อง พร้อมชี้ว่า หากมือถือทำให้ไข่ที่อยู่ภายใต้เปลือกสุกได้ แล้วจินตนาการดูว่ามือถือจะกระทำกับสมองของเราอย่างไร หากแต่ภายหลังผู้ก่อตั้งไ ด้ออกมาเผยว่าเป็นการเย้าแหย่ผู้ที่กลัวเทคโนโลยีเท่านั้นเอง

ด้านไวร์ดอตคอม ยังพยายามสอบถามไปยังค่ายมือถือต่างๆ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ขณะที่ตัวแทนจากโซนีอิริคสัน ระบุเพียงว่าไม่ได้ตื่นกับคลิปที่ออก แต่อย่างใด

komgrit_su03 22-Jul-08 13.12.09

การลวงหลอกทำนองนี้เคยเกิดขึ้นมากับกรณีต้มไข่ที่หลายคนโดนต้มเสียเปื่อย แต่แล้วในที่สุด ความจริงก็เฉลยออกมาว่า คลิปนี้คือแผนการโฆษณาของ คาร์โดซิสเต็มสอิงค์ (Cardo Systems, Inc) ผู้จำหน่ายชุดหูฟังบลูทูธ คาร์โดทำคลิปโฆษณาชิ้นนี้ขึ้น เพื่อทำให้ผู้รับชมเห็นว่าคลื่นมือถือนั้น ช่างรุนแรงขนาดไหน และน่าจะทำให้ผู้บริโภคหวั่นที่จะใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง และนั่นก็จะทำให้หันไปใช้ ชุดหูฟังบลูทูธที่ทางบริษัทจัดจำหน่ายนั่นเอง

คลิปชิ้นนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำการตลาดแบบปากต่อปาก (viral marketing) ที่อาศัยเครือข่ายใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างยูทูบ ชักชวนผู้คนเข้ามาชมได้มากถึง 4 ล้านคลิก

ทว่า...ในยามที่คาร์โด ออกมาเฉลยแล้วว่า คลิปที่โพสต์ลงไปนั้น มันคือโลกมายา เพื่อเป็นสื่อโฆษณา ประชาชนที่ผ่านมาไปมา 4 ล้านกว่าคลิกนั้น จะได้รับคำไขข้อข้องใจนี้หรือไม่ หรือคุณๆ อาจจะได้รับฟอร์เวิร์ดเมล์ "มือถือคั่วป็อบคอร์นได้" โดยไร้คำเฉลย วนเวียนไปมา

อยู่ในอินบอกซ์อีกนานแน่นอน.

1 Comment:

  1. ไม่ระบุชื่อ said...
    ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

Post a Comment



 
Serenity Blogger Template